Site icon วิมังสา เทรนนิ่ง

ทีมบิ้วดิ้ง คืออะไร

ทีมบิ้วดิ้ง คืออะไร และอะไรคือความหมายของคำว่า Team Building หรือกลุ่มสัมพันธ์ที่หลายๆ องค์กรให้ความสนใจ ไม่ใช่เพียงเฉพาะ บริษัท หรือพนักงาน หน่วยงานต่างๆ เท่านั้น แต่ทีมงาน กลุ่มสมาชิกใดๆ ก็ต่างเล็งเห็นความสำคัญในการจัดกิจกรรมทีมบิ้วดิ้งกันทั้งสิ้น ในส่วนนี้ เราจะพามารู้จักความหมายของคำว่า ทีมบิ้วดิ้ง และการจัดกิจกรรมทีมบิ้วดิ้งที่ดี กัน

ข้อมูลเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้อง

ความหมาย

คำว่า Team Building นั้นก็จะมีความหมายตรงตัวว่า “การสร้างทีม” หรือ “ทีมสัมพันธ์” ผ่านกระบวนต่างๆ ที่คิด ออกแบบมา เพื่อให้มีการใช้กระบวนการ วิธีการต่างๆ ในการให้บุคคล กลุ่มคน ได้เกิดการพัฒนากันในหลายๆ ด้าน เช่น พัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างกัน, ความสามัคคี, การยอมรับ, ความเป็นผู้นำ, การสื่อสาร, การทำงานร่วมกัน, และการทำงานเป็นทีม โดยอาศัยสถานการณ์ต่างๆ ที่วิเคราะห์จากแนวคิดต่างๆ ให้ได้ผลออกมา ตรงตามประโยชน์ เป้าหมายที่ต้องการ

ทีมบิ้วดิ้ง คืออะไร

สำหรับเราแล้วในที่นี้จะหมายถึง การทำให้กลุ่มคน กลุ่มหนึ่ง กลุ่มใดก็ตาม มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน เริ่มจากสัมพันธ์ที่ดีขึ้นระหว่างตัวบุคคล ลดช่องว่างจากตำแหน่ง หน้าที่การทำงาน เปิดใจ เปลี่ยนมุมมอง คลายความขัดแย้งในกลุ่มคนหรือองค์กร ที่จะส่งผลตรงไปถึงการทำงาน สร้างความสามัคคี ความร่วมมือ การระดมความคิด ประตูสู่การสื่อสาร ผ่านการทำกิจกรรมหลากหลาย ร่วมกัน ซึ่งต้งเป็นกิจกรรมที่ออกแบบมาอย่างดี ผ่านรูปแบบที่หลากหลายขึ้นอยู่กับ กลุ่มคน สถานที่ และเป้าหมาย ที่เรายึดตามลักษณะและกระบวนการตามหลักการ “การจัดกิจกรรมที่ดี” ของเรา

(บทความสงวนลิขสิทธิ์ Creative Commons 3.0 )

การจัดกิจกรรมทีมบิ้วดิ้งที่ดี

ในการจัดกิจกรรมทีมบิ้วดิ้งที่ดีนั้น แนะนำว่าต้องมีการวางแผนกิจกรรมที่มีวัตถุประสงค์ และกระบวนการเป็นขั้นเป็นตอนเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดยในลักษณะกิจกรรมต้องประกอบด้วยสิ่งเหล่านี้

  1. ละลายพฤติกรรม : ที่ ไม่ใช่แค่บังคับเต้น!!! การเต้นเป็นการทำให้ผ่อนคลายสนุกสนาน เป็นส่วนหนึ่งของการละลายพฤติกรรมได้จริง แต่มีไม่น้อยที่ตกอยู่ในสภาพบังคับจิตใจสำหรับคนที่ไม่ค่อยชอบแสดงออก ส่วนนี้ทำให้เกิดการอคติต่อต้านการทำทีมบิ้วดิ้งพอสมควร ด้วยผู้จัดที่ไม่เข้าใจถึงความสำคัญในส่วนนี้ แท้จริงแล้วการละลายพฤติกรรมเป็นกระบวนการแรก เพื่อการลดช่องว่างระหว่างกัน เมื่อรู้สึกผ่อนคลาย ลดกำแพง จะทำให้เกิดการเปิดรับกันภายในทีม และเป็นการเริ่มต้นเพื่อปรับเปลี่ยนทัศนคติต่างๆ ได้ง่ายขึ้นต่อไป
  2. ทำความรู้จักกัน : เป็นส่วนที่จำเป็นของการสร้างทีม เพราะสามารถเปิดโอกาสให้คนที่ไม่คุ้นเคยกัน หรือเพิ่งพบกันครั้งแรก ได้มีโอกาสทักทาย พูดคุยหรือทำความรู้จักกันเสียตั้งแต่ในตอนนี้ รวมถึงกลุ่มคนที่อาจคุ้นเคยกันอยู่แล้วแต่ไม่ได้พูดคุย หรือยังมีกำแพงบางอย่างต่อกัน ให้คลายลง และมีสัมพันธ์ที่ดีขึ้น
  3. มีเป้าหมายร่วมกัน : เมื่อมีกลุ่ม มีสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน จุดประสงค์ต่อไปของทีม นั่นคือ การมีเป้าหมายร่วมกัน การใช้สถานการณ์ การแข่งขัน การสร้างกลุ่มเพื่อทำกิจกรรมหนึ่งๆ ที่มีกติกา มีผู้แพ้ ผู้ชนะ ย่อมทำให้ทีม เกิดความรู้สึกร่วมกันได้ โดยต้องไม่เป็นการแข่งขันเพื่อการเอาชนะในแบบที่จะเกิดความเหลื่อมล้ำในทีม
  4. มีการสื่อสารกันภายในกลุ่ม : ในการทำกิจกรรมเพื่อการทำงานเป็นทีมที่ดี ย่อมต้องให้มีการวางแผน แบ่งหน้าที่ และในส่วนนี้กิจกรรมของทีมบิ้วดิ้ง ก็ควรออกแบบมาให้มีการสื่อสารกันภายในกลุ่ม เกิดการยอมรับความคิดเห็น และความร่วมมือกันต่อไป
  5. ได้แก้ไขปัญหาร่วมกัน / แสดงความคิดเห็น : ในแต่ละเกมส์ทีมบิ้วดิ้ง หรือกิจกรรมนั้นจะต้องมีส่วนหนึ่งของรูปแบบที่ให้ทุกคนได้ร่วมแสดงออก ในการแสดงความคิดเห็น อาจผ่านกระบวนการแก้ปัญหา หรือสร้างไอเดีย ความคิดสร้างสรรค์ก็ได้ เหล่านี้จะทำให้เกิดการยอมรับ การเชื่อใจ และมุมมองต่อทีม ต่อบุคคลดีขึ้นได้ด้วย นี่คือส่วนหนึ่งที่จะพัฒนาต่อยอดกลับไปสู่การทำงานจริงได้
  6. สร้างความสามัคคี และเพิ่มศักยภาพในการทำงานร่วมกัน : เป้าหมายหลักของคำว่า Team Building คือการสร้างความสามัคคี และเพิ่มศักยภาพคำว่า ทีมให้ดียิ่งขึ้น หากกระบวนการ 1-5 ที่ผ่านมาสัมฤทธิ์ผลแล้ว คำว่าสามัคคีจะเกิดขึ้นไม่ยาก และเมื่อความสามัคคีมีขึ้นมาได้ ศักยภาพของคำว่าทีม ในการทำงานร่วมกันก็จะเกิดขึ้นตามมา
  7. สร้างทัศนคติที่ดี : จากกระบวนการที่กล่าวมาแล้ว จะสำเร็จไม่ได้หากขาดทัศนคติที่ดี สิ่งเหล่านี้ต้องเริ่มจากตนเองตั้งแต่ ทีมผู้จัด วิทยากรทีมบิ้วดิ้ง และวิธีการส่งต่อ ถ่ายทอดไปยังผู้เข้าร่วม ผู้ทำกิจกรรม ให้เกิดความสร้างสรรค์ สามัคคี และได้ดังจุดประสงค์ต่างๆ เพื่อการพัฒนาองค์กรสู่ความเป็นเลิศต่อไป

ทั้งหมดที่ได้กล่าวไปแล้วคือ ความหมาย และการแนะนำเกมส์ กิจกรรมทีมบิ้วดิ้ง ที่ดี ว่าควรมีรูปแบบ พื้นฐาน โครงสร้างอย่างไร การใช้กิจกรรมเดียวกัน เกมส์เดียวกัน แต่แตกต่างในการออกแบบวางแผน จัดลำดับ การเกริ่นนำ การสรุป การกระตุ้น (Motivation) ที่ดี และถูกต้อง ก็ไม่อาจได้ผลลัพธ์ ที่เหมือนกัน ดังเช่น การทำกิจกรรมที่คนดูขำ แต่คนเล่นเครียด เช่นนี้ก็อาจสร้างรอยด่างในจิตใจได้ต่อไปในอนาคต

ทำไมเราต้องจัดทีมบิ้วดิ้ง / ข้อดีของการจัดทีมบิ้วดิ้ง

การจัดทีมบิ้วดิ้ง หรือกลุ่มสัมพันธ์ มีความจำเป็น หรือความสำคัญหรือไม่อย่างไร ทำไมเราจึงต้องจัด หรือมีข้อดีอย่างไร จะนำเสนอดังต่อไปนี้

ยังมีประโยชน์อีกมากมาย ที่แอบแฝง และเป็นสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่สำคัญ แต่เราอาจมองไม่เห็นในทันที หรือคิดว่ามันไม่ชัดเจนพอ แต่มันสร้างขึ้นได้จริง ๆ ภายในจิตใจของพนักงาน และทีมงาน หวังว่าจะเป็นบทความที่ให้ความรู้เรื่องทีมบิ้วดิ้ง กลุ่มสัมพันธ์ อันเป็นประโยชน์แก่ทุกท่าน

Exit mobile version