หลักสูตร ไคเซ็น (Kaizen) มาจากภาษาญี่ปุ่น มีความหมายว่าการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง เป็นกิจกรรมการบริหาร งานเชิงคุณภาพ ที่ได้รับความนิยมแพร่หลายในระดับโลก เบื้องต้นคือการ ลด ละ เลิกภาระหรืองานที่ไม่จำเป็นมุ่งไปสู่วิธีอื่นที่เหมาะสมกว่า เพื่อสร้างประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น จากตัวอย่างมากมายของผลสำเร็จจากแนวคิดนี้ทำให้ไคเซ็นถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลาย
แต่แนวคิดไม่อาจเป็นจริงได้หากขาดซึ่งการปฏิบัติที่ถูกต้อง ไคเซ็น จึงถือเป็นส่วนหนึ่งในหน้าที่ของพนักงานทุกคนที่จะได้มีส่วนร่วมในการปรับปรุงงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยองค์กรควรปลูกจิตสำนึกให้กับพนักงานในการพัฒนาปรับปรุงการทำงานอย่างต่อเนื่อง โดยให้ความรู้และความเข้าใจและสร้างจิตสำนึกให้พนักงานทุกคนทุกระดับเรียนรู้วิธีการตลอดจนเทคนิคการทำไคเซ็นในงานของตน
ส่วนหนึ่งนั้น “ผู้ปฏิบัติงานหน้างานย่อมรู้งานของตนเองมากกว่าคนอื่น ๆ“ จึงควรให้ผู้ปฏิบัติได้มีแนวคิดในการเปลี่ยนแปลง ปรับปรุงพัฒนาด้วยตนเองไม่ว่าจะเครื่องมือใดก็ตาม โดยจุดเริ่มต้นคือการสร้างทัศนคติที่ให้ผู้ปฏิบัติมีมุมมองใหม่ เลิกคิดว่าทำไม่ได้ แต่เปลี่ยนเป็นความคิดที่ว่าทุกอย่างเขาสามารถทำได้ (Can do) ไม่แก้ตัว มุ่งเน้นแก้ไข โดยไม่เกี่ยวกับเรื่องต้นทุน ทรัพยากร แต่เริ่มที่อยากปรับปรุงจากตัวเองไปจนถึงที่สุดก่อน
หลักสูตรไคเซ็นเพื่อปรับปรุงงานและลดต้นทุน (Kaizen for Productivity and Cost Reduction) (IN-04)
หลักสูตรนี้จะช่วยให้เข้าใจแนวคิดแบบไคเซ็น สามารถใช้เป็นเครื่องมือเพื่อเรียนรู้วิธีการ ค้นหาจุดที่ควรปรับปรุงขั้นตอนการดำเนินงานไคเซ็น เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพและลดต้นทุนด้วยเครื่องมือต่าง ๆ ที่มี ไม่ว่าจะผ่านจากกิจกรรม หรือตัวอย่างความสำเร็จ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในงานของตนเองต่อไป “การปรับปรุงงานและลดต้นทุนด้วย Kaizen” ก็จะช่วยองค์กรจะได้รับการพัฒนาโดยพนักงานทุกระดับและเป็นวัฒนธรรมในองค์กรอย่างยั่งยืน
ทำไมต้องอบรมหลักสูตรนี้!!
- ต้องการให้พนักงานมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางไคเซ็นอย่างถูกต้องชัดเจน
- ให้พนักงานเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาปรับปรุงงานเพื่อยกระดับคุณภาพประสิทธิภาพและลดต้นทุนในการทำงานอย่างต่อเนื่อง
- บุคลากรสามารถนำไคเซ็นไปประยุกต์ใช้ในการทำงานและเป็นต้นแบบสำหรับการขยายผลภายในองค์กรต่อไป
- สร้างทีมงานให้ประยุกต์ใช้เทคนิคการปรับปรุงเช่น PCDA, 5S, Visual Control ฯลฯร่วมกับ กิจกรรมหรือโครงการปรับปรุงต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม
- หลักสูตรไม่ตึงเครียดจนน่าเบื่อเกินไป หรือชวนหลับ
วัตถุประสงค์
- เพื่อเข้าใจแนวคิดและความเป็นมา ของกิจกรรม วิธีการปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง
- เพื่อให้ทราบถึงแนวทางและขั้นตอนในการปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง
- เข้าใจเรื่อง Kaizen นำไปปรับปรุงงาน และลดต้นทุนได้
- เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเกิดการพัฒนาและแก้ไขปรับปรุงกระบวนการทำงานอย่างถูกวิธี
- ทราบถึงอุปสรรคและ แนวทางแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้อง
กลุ่มเป้าหมาย
- พนักงานทุกระดับ หัวหน้างาน
- หัวหน้ากลุ่มย่อย (Small group activity) หรือผู้ที่รับผิดชอบและเกี่ยวข้อง
การอบรม รูปแบบการเรียนการสอน
- อบรมภายใน In-house Training
- สถานที่ห้องประชุมมีเครื่องฉายสไลด์/Projector, ไมโครโฟน, เครื่องขยายเสียง
- จัดโต๊ะคลาสรูม หรือ เธียร์เตอร์ (Classroom / Theatre)
- การบรรยาย 40 %
- กิจกรรมกลุ่ม / ฝึกปฏิบัติ Workshop และการนำเสนอผลงานกลุ่ม 50%
- กรณีศึกษา และดูภาพยนตร์ 10 %
ระยะเวลา
หลักสูตร 1 วัน เวลา 9.00 น. – 16.00 น.
หัวข้ออบรมพนักงาน (Course Outline)
*หลักสูตรมีการปรับปรุงและพัฒนาอยู่เสมอ – รายละเอียดและกำหนดการ > พิมพ์-เอกสารนำเสนอผู้บริหาร (พบเจอหลักสูตรเลียนแบบกรุณาแจ้งเรา)
ช่วงเช้า
- แนวคิดไคเซ็น สำคัญอย่างไรต่อการพัฒนางานอย่างยั่งยืน
- ไคเซ็น คืออะไร? ทำไมจึงมีความสำคัญต่อการพัฒนางาน
- รูปแบบการคิดในการพัฒนางานแบบต่าง ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับแนวคิดไคเซ็น
- เทคนิคการประยุกต์ใช้แนวคิด ไคเซ็น ในการทำงาน
- หลักการเขียนข้อเสนอแนะเบื้องต้นของไคเซ็นในการปรับปรุงงาน
- ความสูญเสียในการทำงานที่สามารถแก้ไขได้ด้วย แนวคิด ไคเซ็น
ช่วงบ่าย
- เทคนิคการใช้แนวคิดไคเซ็น ในการทำงาน
- วิธีการปรับปรุงงานโดยความคิดสร้างสรรค์ตามหลัก เลิก/ลด/เปลี่ยน และ ECRS
- เทคนิคการแก้ไขปัญหา ด้วย PDCA แบบ ไคเซ็น
- Workshop การประยุกต์ใช้
- กรณีศึกษา และ Workshop “ล้านไอเดียเพื่อปรับปรุงงานและลดต้นทุนด้วย ไคเซ็น”
- เทคนิคการประยุกต์ใช้กิจกรรมไคเซ็น ในองค์กรอย่างยั่งยืนสำหรับผู้บริหารและหัวหน้างาน
*มีพักเบรกตามเหมาะสม ปกติ 10.30, 14.30 น. เนื้อหามีแทรกจังหวะผ่อนคลายสนุกสนานให้ไม่น่าเบื่อ
วิทยากรอบรมพนักงาน
วิทยากรประจำหลักสูตร
อ.ไมท์ – ไมตรี บุญขันธ์ วิทยากร ผู้มากประสบการณ์ในด้านการอบรมหลักสูตรการจัดการต่าง ๆ โดยอย่างยิ่งกับการอบรมพนักงานโรงงาน เช่นหลักสูตร Kaizen, 7 waste, TQM หมวดการลดต้นทุน และเพิ่มผลผลิต ให้กับหลายองค์กร หลายโรงงานอุตสาหกรรม มากกว่า 100 แห่ง ทำให้ อ.ไมท์ เป็นวิทยาที่เข้าใจในการทำงาน “กับคนโรงงาน” และเข้าใจ “ผู้บริหาร” ด้วยประสบการณ์จากการทำงานตรงมาหลายปี 🤓